Archive for ตุลาคม 2013

คุณไม่คิดอย่างนั้นหรอกหรือ ภาษาอังกฤษ พูดได้อย่างไร


Don't you think so?
(ดอนทฺ ยู ธิงคฺ โซ)
คุณไม่คิดอย่างนั้นหรอกหรือ

เป็นสำนวนคำถามที่ขอแสดงความเห็นเหมือนกัน
แต่จะเป็นสำนวนที่ถามความคิดเห็นอีกฝ่ายว่า
มีความคิดเห็นไม่ตรงกัน ไปศึกษาตัวอย่างกันดีกว่าครับ

[ โอกาสที่ใช้ ]
เพื่อถามคนอื่นว่าเห็นด้วยหรือไม่ หรือขอความเห็นจากผู้อื่น

[ สถานการณ์ตัวอย่าง ]
รูธถามแจ๊ค

Ruth : I'm really enjoying this trip.
It's quite comfortable.
Don't you think so?
แอมฺ เรียลี เอนจอยอิง ธีส ทริพ
อิทสฺ ไควทฺ คอมฟอเทเบิล
ดอนทฺ ยู ธิงคฺ โซ
รูธ : ฉันสนุกจริงๆ ที่มาเที่ยวครั้งนี้ ค่อนข้างสะดวกสบายทีเดียว
คุณไม่คิดอย่างนั้นหรอกหรือ

Jack : Hum... I'm afraid I can't agree with you.
อืม แอมฺ อะเฟรด ไอ คานทฺ อะกรี วิธ ยู
แจ๊ค : อืม...ผมเกรงว่าคงจะไม่สามารถเห็นด้วยกับคุณได้

[ คำอธิบาย และ สำนวนที่เกี่ยวข้อง ]
สำนวนอื่นๆ ได้แก่

Don't you agree? (ดอนทฺ ยู อะกรี)
คุณไม่เห็นด้วยหรอกหรือ

Wouldn't you say so? (วูดดึน ยู เซยฺ โซ)
คุณจะไม่พูดอย่างนั้นหรอกหรือ

ในการพูด อาจพูดสั้นๆ อย่างไม่เป็นทางการว่า
Righi? Yeah? (ไรทฺ เย)
คือใช่ไหม นั้นเอง

Don't you think so? (ดอนทฺ ยู ธิงคฺ โซ)
คุณไม่คิดอย่างนั้นหรอกหรือ

เป็นการถามโดยที่ผู้ถามเปิดโอกาสให้ผู้ฟังแสดงความคิดเห็นว่าไม่เห็นด้วย
หากถาม Do you think so?
มีความหมายว่า คุณเห็นด้วยไหม แสดงว่า
ผู้พูดต้องการให้ผู้ฟังเห็นด้วย


คุณคิดว่าฉันควรจะเอาอะไรมาไหม ภาษาอังกฤษพูดว่า


Do you think I should bring anything?
(ดู ยู ธิงคฺ ไอ ชูด บริง เอนีธิงคฺ )
คุณคิดว่าฉันควรจะเอาอะไรมาไหม

เป็นสำนวนคำถามที่ต้องการความคิดเห็นของผู้ที่ถูกถามครับ
ว่าผมควรจะทำอย่างนั้นไหม

[ โอกาสที่ใช้ ]
เมื่อต้องการเสนอที่จะทำอะไรบางอย่าง
โดยถามด้วยสำนวนว่า
Do you think I should...?
(ดู ยู ธิงคฺ ไอ ชูด)
คุณคิดว่าฉันควรจะ...

[ สถานการณ์ตัวอย่าง ]
เจสซี่ถามโรเจอร์ขอความเห็น

Roger : My friend and I are having a party at my house
on Satuday night, and we'd like you to come?
มาย เฟรนดฺ แอนดฺไอ อา แฮฟวิง อะ พารฺที แอท มา เฮาสฺ
ออน แซทเทอเดยฺ ไนทฺ แอนดฺ วีดฺ ไลคฺ ยู ทู คัม
โรเจอร์ : พวกเพื่อนๆ กับผมจะมีงานปาร์ตี้กันที่บ้านผม
คืนวันเสาร์เราอยากให้คุณมาด้วย

Jessie : That sound fun. What time should I come?
แธท ซาวนฺดฺ ฟัน วอท ไทมฺ ชูด ไอ คัม
เจสซี่ : ฟังดูน่าสนุกดี ฉันควรไปเวลาเท่าไหร่

Roger : Around seven o'clock.
อะราวนฺ เซเวน โอคลอค
โรเจอร์ : สักหนึ่งทุ่ม

Jessie : Fine. Do you think should bring anything?
ไฟนฺ ดู ยู ธิงคฺ ชูด บริง เอนีธิงคฺ
เจสซี่ : ดีละ คุณคิดว่าฉันควรเอาอะไรไปไหม

[ คำอธิบาย และ สำนวนที่เกี่ยวข้อง ]
สำนวนอื่นๆได้แก่
Do you think I ought to...?
(ดู ยู ธิงคฺ ไอ ออท ทู)

What do you think I should do?
(วอท ดู ยู ธิงคฺ ไอ ชูท ดู)

คุณว่าฉันควรจะทำอะไร

คุณคิดว่าข้อเสนอเป็นอย่างไร ใช้อย่างไรในภาษาอังกฤษ


What do you think of the proposal?
(วอท ดู ยู ธิงคฺ ออฟ เธอะ พรอพโพเซิล)
คุณคิดว่าข้อเสนอเป็นอย่างไร

สำนวนนี้เป็นการถามเพื่อจะให้ผู้อื่นออกความคิดเห็นครับ
ลองมาดูการใช้กันดีกว่าครับ

[ โอกาสที่ใช้ ]
เมื่อต้องการถามขอความเห็น จะใช้คำว่า
What do you think of...?
(วอท ดู ยู ธิงคฺ ออฟ)

[ สถานการณ์ตัวอย่าง ]
นายถามลูกน้อง

Bob : I think we should conduct detailed market
research before we produce the nwe model.
ไอ ธิงคฺ วี ชูท คอนดัก ดีเทลดฺ มารฺเกท
รีเซิรฺทชฺ บีฟอรฺ วี โพรดิวชฺ เธอะ นิว โมเดล
บ๊อบ : ผมว่าเราควรจะทำวิจัยตลาดอย่างละเอียด ก่อนที่จะผลิตสินค้าแบบใหม่

Boss : I quite agree with you.
What do you think of the proposal, Peter?
ไอไควฺท อะกรี วิท ยู
วอท ดู ยู ธิงคฺ ออฟ เธอะ พรอพโพเซิล พีเทอะ
นายจ้าง : ผมเห็นด้วยกับคุณ ปีเตอร์ คุณคิดว่าข้อเสนอนี้เป็นอย่างไร

Peter : That's just what I think.
แธทสฺ จัสทฺ วอท ไอ ธิงคฺ
ปีเตอร์ : ผมก็คิดเหมือนกันครับ

[ คำอธิบาย และ สำนวนที่เกี่ยวข้อง ]
detailed market research
(ดีเทลดฺ มารฺเกท รีเซิรฺทชฺ)
คือการวิจัยตลาดอย่างละเอียด

สำนวนอื่นๆที่ถามความเห็นเช่นเดียวกัน ได้แก่
What's your opinion of...?
(วอทสฺ ยัว โอพีเนียน)
What are you feelings about...?
(วอท อา ฟีลลิงสฺ อะเบาทฺ)
How do you find...?
(ฮาว ดู ยู ไฟดฺ)

หากพูดถึงเรื่องอื่นๆ มาก่อนแล้ว อาจถามเพียง
What about...?
(วอท อะเบาทฺ)

สำนวนที่เป็นทางการมากอาจจะพูดได้ว่า
I'd be glad (or grateful) to have views on...
(ไอดฺ บี แกลด (ออ เกรทฟูล) ทู แฮฟ วิวสฺ ออน )
จะขอบคุณมากถ้าคุณจะให้ความเห็นเรื่อง...

Do you have any comments on...?
(ดู ยู แฮฟ เอนี คอมเมนสฺ ออน)
คุณมีความเห็นอะไรไหมเรื่อง...

What's your reaction to...?
(วอทสฺ ยัว รีแอดชัน ทู)
คุณมีปฏิกิริยาอย่างไรกับเรื่อง...
คุณคิดยังไงกับเรื่อง...

ฉันคิดว่าคงจะสายเกินไปแล้ว พูดเป็นภาษาอังกฤษ


I suppose it's too late to get the tickets.
(ไอ ซัพโพส อิทสฺ ทู เลท ทู เกท เธอะ ทิคเกทสฺ)
ฉันคิดว่าคงจะสายเกินไปแล้วที่จะได้ตั๋ว

เป็นการแสดงความคิดเห็นอีกรูปแบบหนึ่ง โดยใช้คำว่า I suppose...
ฉันเข้าใจว่า... โดยคำว่า suppose แปลว่าเข้าใจครับ
ลองศึกษาประโยคตัวอย่างกันดีกว่า

[ โอกาสที่ใช้ ]
เมื่อแสดงความเห็นอาจใช้คำว่า I suppose... มีความหมายว่า
ฉันคิด หรือ ฉันเข้าใจว่า

[ สถานการณ์ตัวอย่าง ]
พอลแสดงควาามเห็น

Maria : We can't go to see the movie now, can we?
วี คานทฺ โก ทู ซี เธอะ มูฟวี นาว แคน วี
มาเรีย : เราคงไปดูหนีงเรื่องนั้นกันตอนนี้ไม่ได้กระมัง

Paul : Oh, non. I suppose it's too late to get the tickets.
It's two o'clock now.
โอ นอน ไอ ซัพโพส อิทสฺ ทู เลท ทู เกท เธอะ ทิคเกทสฺ 
อิทสฺ ทู โอคลอค นาว
พอล : ผมว่าตอนนี้มันสายไปแล้วที่จะไปซื้อตั๋ว
นี่มันสองโมงแล้ว

Maria : Then I think we might make it.
It doesn't start until half past two.
เธน ไอ ธิงคฺ วี ไมทฺ เมค อิท
อิท ดาสซึนทฺ สะตารฺท อันทิล ฮาลฺฟ พาส ทู
มาเรีย : งั้นฉันคิดว่าเราอาจจะไปทันนะ หนังจะยังไม่เริ่มจนกว่าจะสองโมงครึ่ง

Paul : Then we'd better get going.
เธน วีดฺ เบทเทอะ เกท โกอิง
พอล : งั้นเราควรจะรีบไปกันได้แล้ว

[ คำอธิบาย และ สำนวนที่เกี่ยวข้อง ]
I'm afraid...(แอมฺ อะเฟรด)
ฉันเกรงว่า...

I hear...(ไอ เฮีย)
ฉันได้ยินว่า...
วันจันทร์ที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2556
Posted by Workman Workman

ต้องการที่จะ ปฏิเสธเรื่องใดเรื่องหนึ่งอย่างจริงจัง เป็นภาษาอังกฤษ


I don't really want to...
(ไอ ดอนทฺ เรียลี วอนทฺ ทู)
ฉันไม่ต้องการที่จะ...จริงๆ

เป็นการแสดงความคิดเห็นที่ต้องการจะ
ปฏิเสธเรื่องใดเรื่องหนึ่งอย่างจริงจังครับผม

[ โอกาสที่ใช้ ]
เมื่อต้องการแสดงความเห็นหรือความรู้สึกว่าไม่ต้องการ
จะทำอย่างใดอย่างหนึ่งอย่างจริงจัง

[ สถานการณ์ตัวอย่าง ]
สามารถแสดงความเห็นของตัวเอง

Samart : What time is breakfast served?
วอท ไทมฺ อีส เบรคฟัส เซิรฺฟ
สามารถ : อาหารเข้าเสริฟ์ตอนใหนครับ

Receptionist : It's served from seven to eight at the restaurant.
อิทสฺ เซิรฺฟดฺ ฟอรฺม เซเวน ทู เอท แอท เธอะ เรสเทอรอง
พนักงานต้อนรับ : จากเจ็ดโมงถึงแปดโมง ที่ห้องอาหารค่ะ

Samart : Oh, I don't really want to get up so early.
Can I have breakfast in my room?
โอ ไอ ดอนทฺ เรียลี วอนทฺ ทู เกท อัพ โซ เออลี
แคน ไอ แฮฟ เบรคฟัส อิน มาย รูม
สามารถ : แหม ผมไม่อยากตื่นเช้าขนาดนั้น
จริงๆ ผมทานอาหารเช้าที่ห้องได้ไหม

Receptionist : Certainly.
เซอเทนลี
พนักงานต้อนรับ : ได้อย่างแน่นอนค่ะ

[ คำอธิบาย และ สำนวนที่เกี่ยวข้อง ]
สำนวนอื่นๆ ได้แก่
I'd rather not to...(ไอดฺ ราเธอรฺ นอท ทู)
I'd prefer not to...(ไอดฺ พรีเฟอ นอท ทู)
I don't really feel like + verb-ing...
(ไอ ดอนทฺ เรียลี ฟีล ไลคฺ)
มีความหมายว่าฉันไม่อยากจะทำอะไรอย่างใดอย่างหนึ่ง

I don't wan't to...(ไอ ดอนทฺ วอนทฺ ทู)
I don't feel like + verb-ing...
(ไอ ดอนทฺ ฟีล ไลคฺ)
คือไม่ต้องการที่จะ... ไม่รู้สึกอยาก...

I'm not really in the mood...
(แอมฺ นอท เรียลี อิน เธอะ มูด)
ฉันไม่อยู่ในอารมณ์จริงๆ

เมื่อเราต้องการที่จะชี้แจงประเด็นหนึ่ง เป็นภาษาอังกฤษ


I'd like to point out that...
(ไอดฺ ไลคฺ ทู พอยทฺ เอาทฺ แธท)
ฉันอยากจะชี้ให้เห็นว่า

เมื่อเราต้องการที่จะชี้แจงและแสดงความคิดเห็นในประเด็นหนึ่ง
เราสามารถใช้คำนี้ได้เลยครับ I'd like to point out that...
โดยประโยคนี้มักจะใช้อยากเป็นทางการ

[ โอกาสที่ใช้ ]
เมื่อต้องการแสดงความคิดเห็นชี้แจงประเด็นใดประเด็นหนึ่ง

[ สถานการณ์ตัวอย่าง ]
ไมเคิลแสดงความเห็น

Simon : I think we should increase the production of this model.
ไอ ธิงคฺ วี ชูท อินครีซ เธอะ โพรดักชัน ออฟ ธีส โมเดล
ไซมอน : ผมคิดว่าเราควรจะเพิ่มการผลิตสิ้นค้ารุ่นนี้

Michael : I agree that model is good.
But I'd like to point out that there are some
new models which we must consider.
What is your poinion?
ไอ อะกรี แธท ธีส โมเดล อีส กูด บัท ไอดฺ ไลดฺ ทู พอยทฺ เอาทฺ แธท แธรฺ อา ซัม
นิว โมเดล วิช วี มัส คอนซีเดอรฺ วอท อีส ยัว โอพีเนียน
ไมเคิล : ผมเห็นด้วยว่ารุ่นนี้ดี แต่อยากจะชี้ให้เห็นว่ายังมีรุ่นใหม่อื่นๆ อีกที่เราควรจะพิจารณา
คุณมีความเห็นว่าอย่างไร

[ คำอธิบาย และ สำนวนที่เกี่ยวข้อง ]
model ในที่นี่ คือ แบบหรือรุ่นสินค้า
สำนวนอื่นๆ ได้แก่
I'd just like to say that...(ไอดฺ จัสทฺ ไลคฺ ทู เซยฺ แธท)
I'd just like to tell you that...(ไอดฺ จัสทฺ ไลคฺ ทู เทล ยู แธท)
ฉันเพียงแต่อยากจะพูดว่าหรือบอกคุณว่า

นอกจากนั้นอาจพูดได้ว่า
Don't you agree that...(ดอนทฺ ยู อะกรี แธท)
คุณไม่เห็นด้วยหรือว่า...

Wouldn't you say that...(วูดดึนทฺ ยู เซยฺ แธท)
คุณไม่คิดหรือว่า...

the point is...(เธอะ พอยทฺ อีส)
ประเด็นก็คือ...

ฉันคิดว่าคุณจะต้องเปลี่ยนรถเมล์ หรือต่อรถคันอื่น ภาษาอังกฤษพูดว่า


I think you'll have to change the bus.
(ไอ ธิงคฺ ยู แฮฟ ทู เชนงจฺ เธอะ บัส)
ฉันคิดว่าคุณจะต้องเปลี่ยนรถเมล์ หรือต่อรถคันอื่น

สำนวนนี้ เป็นการแสดงความคิดเห็นและเสนอแนะอย่างมั่นใจครับ
เพื่อให้อีกฝ่ายนั้นทำตามอย่างที่เราเสนอไป ลองดูการใช้ตัวอย่าง
สำนวน I think you'll have to...กันเลยนะครับ

[ โอกาสที่ใช้ ]
เป็นการแสดงความเห็นอย่างมั่นใจ และเสนอแนะอย่างมั่นใจ
ใช้ I think you'll have to...(ไอ ธิงคฺ ยู แฮฟ ทู)

[ สถานการณ์ตัวอย่าง ]
เมื่อผู้ใช้โดยสารบนรถเมล์แนะนำนักท่องเที่ยว

Tourist : Does this bus take me to Wireless Road?
ดาส ธีส บัส เทค มี ทู ไวรฺเรส โรด
นักท่องเที่ยว : รถคันนี้ไปถนนวิทยุหรือเปล่าครับ

Passenger : Wireless Road? I'm afraid this bus doesn't
go to Wireless Road.
ไวรฺเรส โรด แอม อะเฟรด ธีส บัส ดาสซึน โก ทู ไวรฺเรส โรด
ผู้โดยสาร : ถนนวิทยุหรือ ผมเกรงว่ารถคันนี้จะไม่ไปถนนวิทยุ หรอกครับ

Rourist : What should I do?
วอท ชูด ไอ ดู
นักท่องเที่ยว : อย่างนั้นผมควรทำอย่างไรดี

Passenger : I think you'll have to change the buse.
ไอ ธิงคฺ ยูอิล แฮฟ ทู เชงจฺ เธอะ บัส
ผู้โดยสาร : ผมว่าคุณคงต้องต่อรถ

[ คำอธิบายและสำนวนที่เกี่ยวข้อง ]
การให้ความเห็น อาจพูดได้อีกว่า
May be you'll better...(เมบี ยูดฺ เบทเทอะ)
You're supposed to...(ยู ซัพโพส ทู)
บางทีคุณน่าจะ... คุณควรจะ...

I think you ought to...(ไอ ธิงคฺ ยู ออท ทู)
ฉันคิดว่าคุณควรจะ...

You've got to...(ยู กอท ทู)
คุณต้อง...

I'm afraid you must...(แอมฺ อะเฟรด ยู มัส)
ผมเกรงว่าคุณจะต้อง...

I'm afraid you can't avoid the trouble of... (+verb-ing)
(แอมฺ อะเฟรด ยู คานทฺ อะวอยดฺ เธอะ ทรับเบิล ออฟ)
ผมเกรงว่าคุณคงจะหลีกเลี่ยงการ...ไม่ได้
วันอาทิตย์ที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2556
Posted by Workman Workman

ฉันคิดว่าคุณควรจะไปหาหมอ พูดเป็นภาษาอังกฤษ ได้อย่างไร


I think you should see a doctor.
(ไอ ธิงคฺ ยู ชูด ซี อะ ดอกเทอะ)
ฉันคิดว่าคุณควรจะไปหาหมอ

เป็นสำนวนที่ว่าด้วยการแสดงความคิดเห็นและ
เสนอแนะในประโยคเดียวกัน ตัวอย่างเช่น คุณน่าจะไปพบคุณแม่ก่อน
ฉันคิดว่าคุณควรจะส่งงานภายในวันนี้อะไรแบบนี้

[ โอกาสที่ใช้ ]
เป็นการแสดงความเห็นและเสนอแนะในเวลาเดียวกันโดยใช้
I think you should...(ไอ ธิงคฺ ยู ชูด) ฉันคิดว่าคุณควร
จะทำอะไรอย่างใดอย่างหนึ่ง

[ สถานการณ์ตัวอย่าง ]
เทเรซ่าแสดงความเห็นกับซูซาน

Susanna : I wish I could get rid of the terrible cold.
I've had it for nearly two weeks.
ไอ วิช ไอ คูด เกท ริด ออฟ เธอะ เทอริเบิล โคล
ไอ แฮด อิท ฟอรฺ เนียลี ทู วีคสฺ
ซูซานน่า : ฉันอยากจะกำจัดเจ้าหวัดร้ายนี่ไปให้พ้น จริงๆ
เป็นมาเกือบสองสัปดาห์แล้ว

Teresa : I think you should see a doctor.
ไอ ธิงคฺ ยู ชูด ซี อะ ดอกเทอะ
เทเรซ่า : ฉันว่าเธอควรจะไปหาหมอนะ

Susanna : Yes, I suppose so, but I have no time.
เยส ไอ ซัพโพส โซ บัท ไอ แฮฟ โน ไทมฺ
ซูซานน่า : ใช่ ฉันก็ว่าอย่างนั้นแหล่ะ แต่ไม่มีเวลาเลย

[ คำอธิบายและสำนวนที่เกี่ยวข้อง ]
get rid of (เกท ริด ออฟ) คือกำจัด ขจัด
terrible cold (เทอรีเบิล โคล) การเป็นหวัดอย่างรุนแรง

สำนวนอื่นๆที่มีความหมายทำนองเดียวกันในการเสนอแนะคือ การพูดว่า
My advice is to see a doctor.
(มาย แอดไวซฺ อีส ทู ซี อะ ดอกเทอะ)
คำแนะนำของฉันคือไปหาหมอ

I think you'd better see a doctor.
(ไอ ธิงคฺ ยูดฺ เบทเทอะ ซี อะ ดอกเทอะ)
ฉันคิดว่าคุณควรจะไปหาหมอ

Take my advice and see a doctor.
(เทค มาย แอดไวซฺ แอนดฺ ซี อะ ดอกเทอะ)
ฟังคำแนะนำของฉัน แล้วไปหาหมอเสีย

ฉันคิดว่าเขาจะไปได้ดี หรือ ทำได้ดี ทันทีที่เขาคุ้นเคย


I think he'll be all right once he gets used to the job.
(ไอ ธิงคฺ ฮี บี ออล ไรทฺ วันชฺ ฮี เกทสฺ ยูสดฺ ทู เธอะ จอบ)
ฉันคิดว่าเขาจะไปได้ดี หรือ ทำได้ดี ทันทีที่เขาคุ้นเคย

สำนวนนี้ เป็นการแสดงความคิดเห็นครับ อย่างประโยคตัวอย่าง
ข้างต้นคือ I think he'll be all righ once he gets
used to the job. เป็นการแสดงความคิดเห็นถึงอีกบุคคลหนึ่ง
ในเรื่องการทำอะไรบางอย่างครับ

[ โอกาสที่ใช้ ]
เมื่อต้องการแสดงความคิดเห็น เรื่มด้วยคำว่า I think...

[ สถานการณ์ตัวอย่าง ]
คอนนี่แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับผู้จัดการคนใหม่

Judy : What do you think of Mr. Chan, our new manager?
วอท ดู ยู ธิงคฺ ออฟ มิสเทอะ ชาน อาวเออะ นิว เมเนเจอรฺ
จูดี้ : เธอว่าคุณชาน ผู้จัดการคนใหม่ของเราเป็นอย่างไรบ้าง

Connie : I think he'll be all right once he gets used to the job.
ไอ ธิงคฺ ฮี บี ออล ไรทฺ วันซฺ ฮี เกทสฺ ยูส ทู เธอะ จอบ
คอนนี่ : ฉันว่าเขาคงจะไปได้ดีเมื่อคุ้นกับงานแล้ว

Judy : I hope so.
ไอ โฮพ โซ
จูดี้ : ฉันก็หวังว่าจะเป็นอย่างนั้น

[ คำอธิบายและสำนวนที่เกี่ยวข้อง]
นอกเหนือจากคำว่า I think อาจใช้คำพูดว่า
In my opinion...(อิน มาย โอพีเนียน)
In my view...(อิน มาย วิว)
It's my opinion that...(อิทสฺ มาย โอพีเนียน)
I believe...(ไอ บีลีฟ)
I feel...(ไอ ฟีล)
As I see it...(แอส ไอ ซี อิท)
สำนวนอื่นๆ ที่แสดงความเห็นเช่นกันแต่ไม่หนักแน่นเท่า คือ
เรื่มด้วยคำว่า
If you ask me...(อีฟ ยู อารฺค มี) คือถ้าคุณถามฉัน
The way I see it,...(เธอะ เวยฺ ไอ ซี อิท) ตามที่ฉันเห็น ตามที่ฉันเข้าใจ
I consider...(ไอ คอนซีเดอะ) ฉันคิดว่า
I'm convinced that...(แอมฺ คอนวินซฺดฺ แธท) ฉันเชื่อว่า

สำนวนที่ใช้ตอบปฏิเสธแบบสุภาพ เป็นภาษาอังกฤษ


I'm afraid I won't be able to come.
(แอม อะ เฟรด ไอ วอนทฺ บี เอเบิล ทู คัม)
ฉันเกรงว่าฉันจะไม่สามารถมาได้

เป็นสำนวนที่ใช้ตอบปฏิเสธแบบสุภาพ
ว่าเราไม่สามารถทำตามที่อีกฝ่ายร้องขอได้ครับ

[ โอกาสที่ใช้ ]
เมื่อตอบปฏิเสธคำเชื้อเชิญใช้
I'm afraid I won't be able to...
(แอม อะเฟรด ไอ วอนทฺ บี เอเบิล ทู....ตามด้วยกริยา)

[ สถานการณ์ตัวอย่าง ]
ไอด้าตอบปฏิเสธคำเชื้อเชิญของเอียน

Ian : Hello. This is lan.
I'm calling to invite you to the movie tonight.
เฮลโล ธีส เอียน
แอม คอลลิง ทู อินไวทฺ ยู ทู เธอะ มูฟวี ทู ไนทฺ
เอียน : สวัสดีครับ นี่เอียนนะครับ
ผมโทรมาชวนคุณไปดูหนังคืนนี้น่ะครับ

Ida : Sorry. I'm afraid I won't be able to come.
ซอรี แอม อะเฟรด ไอ วอนทฺ บี เอเบิล ทู คัม
ไอด้า : เสียใจด้วยค่ะ ฉันเกรงว่าคงจะไปไม่ได้หรอกค่ะ

Ian : Oh! How disappointing! What's the matter?
โอ ฮาว ดิสซับพอยทฺติง วอทสฺ เธอะ แมทเธอะ
เอียน : แหม น่าผิดหวังจริงๆ มีอะไรหรือครับ

Ida : I seem to be coming down with a cold.
I really think I should stay at home.
ไอ ซีม ทู บี คัมมิง ดาวนฺ วิท อะ โคลด
ไอ เรียลิ ธิงคฺ ไอ ชูด สเตยฺ แอท โฮม
ไอด้า : ฉันเริ่มมีอาการจะเป็นหวัด เลยคิดว่า ควรจะต้องอยู่บ้าน

Ian : OK. I understand. Look after yourself.
โอเค ไอ อันเดอะสแตน ลุค อาฟเทอะ ยัวเซลฟ
เอียน : ไม่เป็นไรครับ ผมเข้าใจ ดูแลตัวเองนะครับ

Ida : Thank you for asking me. Goodbye.
แทงคฺ ยู ฟอรฺ อาคกิง มี กูดบาย
ไอด้า : ขอบคุณนะคะที่ชวน สวัสดีค่ะ

[ คำอธิบายและสำนวนที่เกี่ยวข้อง ]
Come down (with)
(คัม ดาวนฺ วิช)
กำลังจะเป็น หรือ ทำท่าจะเป็น

ใช้ I'm afraid I'm in a hurry.
(แอม อะเฟรด แอม อิน อะ เฮอรี)
ขอโทษค่ะ ฉันกำลังรีบ

I'm afraid I have an appointment.
(แอม อะเฟรด ไอ แฮฟ แอนท แอพพอยทฺเมน)
ฉันเกรงว่าฉันจะมีนัด

คำตอบปฏิเสธอื่นๆได้แก่
I'm awfully sorry, but you see...
แอม ออฟูลลิ ซอรี บัท ยู ซี
ฉันเสียใจจริงๆ แต่คุณเห็นไหมว่า...

I'd like to say yes, but...
ไอด ไลดฺ ทู เซยฺ เยส บัท

I'd really like to..., but I'm afraid...
ไอ เรียลลิ ไลคฺ ทู บัท แอม อะเฟรด
อยากจะตอบรับ...แต่เกรงใจว่า...

สำนวนที่ผู้พูดยอมทำตามที่อีกฝ่ายร้องขอ เป็นภาษาอังกฤษ


If you insist.
(อีฟ ยู อินซิส)
ถ้าคุณยืนกรานเช่นนั้น

เป็นสำนวนที่ผู้พูดยอมทำตามที่อีกฝ่ายร้องขอลองมาดูวิธีการใช้กันดีกว่าครับ

[ โอกาสที่ใช้ ]
เมื่อยอมทำตามคำขอร้องของอีกฝ้ายหนึ่ง

[ คำอธิบายและสำนวนที่เกี่ยวข้อง ]
เทอเรนซ์ยินยอมทำตามที่วิลสันขอร้อง

Wilson : Can you stay a little longer?
We have a lot more slides to show you.
แคน ยู สเตยฺ อะ ลิเติล ลองเงอะ
วี แฮฟ ละ ลอท มอรฺ ซไลดฺสฺ ทู โชวฺ ยู
วิลสัน : จะอยู่ต่ออีกสักครู่ได้ไหม เรายังมีสไลด์อีกมากมายที่จะฉายให้คุณดู

Terence : OK.
โอเค
เทอเรนส์ : ก็ได้ครับ

Wilson : Can you stay for dinner?
แคน ยู สเตยฺ ฟอรฺ ดินเนอะ
วิลสัน : คุณจะอยู่รับประทานอาหารค่ำได้ไหม

Terence : Well, if you insist.
เวล อีฟ ยู อินซิส
เทอเรนส์ : ก็ได้ครับ หากคุณยืนกรานว่าอยากให้ผมอยู่

Wilson : Good. Now, let's begin with some of the slides
taken in the temples in Japan.
กูด นาว เลทสฺ บีกิน วิท ซัม ออฟ เธอะ ซไลดฺส
เทคเคน อิน เธอะ เทมเพิลส อิน แจแพน
วิลสัน : ดีครับ ทีนี่เรามาเริ่มด้วยการดูสไลด์ซึ่งถ่ายที่วัดในญี่ปุ่นกันเถอะ

Terence : That sounds interesting.
แธท ซาวดฺสฺ อินเทอเรสติง
เทอเรนส์ : ฟังดูน่าสนใจดี

[ คำอธิบายและสำนวนที่เกี่ยวข้อง ]
That sounds interesting.
(แธท ซาวดฺสฺ อินเทอ เรส ติง)
ฟังดูน่าสนใจ

นอกจากนั้น ในการตอบรับ อาจพูดว่า
Yes, of course.
(เยส ออฟ คลอส)  หรือ
Why, yes, of course.
(วาย เยส ออฟ คลอส) คือ แน่นอน

Certainly, I'd be happy (to come).
(เซอเทนลิ ไอด บี แฮฟปี ทู คัม)
ฉันยินดีมาก  หรือ
Thank you. I'd like to.
(แทงคฺ ยู ไอ ไลคฺ ทู)

Free Downloads APP

Popular Post

ขับเคลื่อนโดย Blogger.

- Copyright © Sample-English -Metrominimalist- Powered by Blogger - Designed by Johanes Djogan -