Archive for สิงหาคม 2013

การกล่าวแสดงความเสียใจ เป็นภาษาอังกฤษ


Oh! I'm sorry to hear that.
(โอ แอม ซอรี ทู เฮีย แธท)
ฉันเสียใจที่ได้ยินข่าวนั้น

สำนวนนี้เป็นการกล่าวแสดงความเสียใจโดยสุภาพครับ
โดยทั่วไปแล้วคนส่วนใหญ่จะใช้แต่คำว่า sorry (ซอรี) เท่านั้น
แต่ถ้าเราแสดงความเสียใจโดยใช้คำที่สุภาพ เราสามารถใช้สำนวนที่ว่า
Oh! I'm sorry to hear that. จะดีกว่าครับ

[ โอกาสที่ใช้ ]
เมื่อได้รับฟังสิ่งที่เราต้องการแสดงความเห็นใจ

[ สถานการณ์ตัวอย่าง ]
คุณเสรีแสดงความเสียใจที่ได้ยินข่าวเรื่องภรรยาของคุณสมพรตกบันได

Mr.Somporn : I'm sorry to be late.
                      My wife tripped on the stairs step and hurt herself this morning.
                      I had to drive her to hospital.
มิสเทอะ สมพร : แอม ซอรี ทู บี เลท
                          มาย ไวฟ ทริพเพด ออน เธอะ สแตสฺ สเตพ แอนทฺ เฮิรทฺ เฮอเซลฟ ธิส มอนิง
                          ไอ แฮด ทู ไดรฟ เฮอ ทู ออ ฮอสพิทอล
สมพร : ขอโทษด้วยครับที่มาสาย
            บังเอิญภรรยาของผมเดินสะดุดตกบันได
            เลยต้องขับรถพาเธอไปส่งโรงพยาบาล

Mr.Seri : Oh! I'm sorry to hear that. Is sge all right now?
มิสเทอะ เสรี : โอ แอม ซอรี ทู เฮีย แธง อิส ชี ออ ไรทฺ นาว
เสรี : โ อเสียใจด้วยครับ เธออาการดีขึ้นหรือยังครับ

Mr.Somporn : Yes. The doctor said she'll be all right in a few days.
มิสเทอะ สมพร : เยส เธอะ ดอกเทอะ เซด ชี บี ออ ไรท อิน อะ ฟิว เดยสฺ
สมพร : ครับ หมอบอกว่าอีก สองสามวัน ก็หาย

[ คำอธิบายและสำนวนที่เกี่ยวข้อง ]
Tripped on the stairs step (ทริพเพด ดิ ออน เดอะ สแตสฺ สเตพ) สะดุดตกบันได

หากต้องการเน้นว่าเสียใจมาก อาจจะใช้สำนวนว่า

I'm awfully (or terribly) sorry to hear that. What a pity!
แอม ออรฺฟูลลิ ออ เทอริบลิ ซอรี ทู เฮีย แธท วอท อะ พิตี
น่าสงสาร น่าเสียดาย

That's too bad.
แธทสฺ ทู แบด
แย่จัง

หากอยู่ในสถานการณ์ที่เราต้องการให้กำลังใจเพิ่มเติมอาจจะพูดเสริมได้ว่า

Don't worry about that.
ดอนทฺ วอรี อะเบาวฺ แธท
อย่ากังวลเรื่องนั้นเลย

I hope she'll be well soon.
ไอ โฮพ ชี บี เวล ซูน
ฉันหวังว่าเธอคงจะดีขึ้นเร็วๆ นี้

สำนวนที่จะใช้แสดงความเห็นใจอื่นๆ ได้แก่

I know how you feel.
ไอ โนวฺ ฮาว ยู ฟีล
ฉันรู้ว่าคุณรู้สึกยังไง

I know how it feels.
ไอ โนวฺ ฮาว อิท ฟีลส
ฉันรู้ว่ามันเป็นอย่างไร

นอกจากนั้นในสถานการณ์ที่ไม่เป็นทางการนัก อาจจะพูดว่า

Cheer up!
เชียรฺ อัพ
รื่นเริงหน่อย ทำใจให้สนุกเข้าไว้

Keep your spirits up!
คีพ ยัวรฺ สปิริทส อัพ
ทำใจให้สนุกไว้

Tty to see the bright side of things.
ทราย ทู ซี เธอะ ไบรทฺ ไซดฺ ออฟ ธิงส
พยายามนึกถึงแง่ดีเข้าไว้


ขอแสดงความยินดีในภาษาอังกฤษ เป็นคำที่สุภาพ


Polite Remarks
(โพไลทฺ รีมารฺคสฺ)
คำตอบที่สุภาพ

Congratulation!
(คอนเกรททูเลชัน)
ขอแสดงความยินดีด้วย

สำนวนนี้จะใช้ในโอกาสเมื่อต้องการแสดงความยินดีในหลายๆเรื่อง เช่น จบการศึกษา ได้เลื่อนยศ หรือ ตำแหน่ง หรือการที่บุคคลหนึ่งทำอะไรที่ประสบความสำเร็จ เราสามารถกล่าวคำนี้เพื่อเป็นการแสดงความยินดีที่สุภาพ ได้เลยครับ

[ โอกาสที่ใช้ ]
เมื่อต้องการแสดงความยินดีกับใครคนหนึ่งในเรื่องต่างๆ

[ สถานการณ์ ]
แอนดี้แสดงความยินดีกับไซมอนที่ได้รับการเลื่อนตำแหน่ง

Andy : Hello, Simon.
แอนดี้ : เฮลโล ไซม่อน
แอนดี้ : สวัสดีไซมอน

Simon : Hello, Andy.
ไซม่อน : เฮลโล แอนดี้
ไซมอน : สวัสดี แอนดี้

Andy : I haven't met you for a long time.
           I've heard you've got a promotion.
           Congratulation!
แอนดี้ : ไอ แฮฟวึนทฺ เมท ยู ฟอ อะ ลอง ทาม
             ไอฟ เฮิรฺด ยู กอท อะ โปรโมชัน
             คอนเกรท ทูเลชัน
แอนดี้ : ไม่ได้พบคุณมานานแล้ว
             ได้ข่าวว่าคุณได้เลื่อนตำแหน่ง
             ขอแสดงความยินดีด้วย

Simon : Thank you. I didn't expect it.
ไซม่อน : แธงคฺ ยู ไอ ดินทฺ เอกคฺเพคทฺ อิท
ไซมอน : ขอบคุณครับ ผมก็ไม่คิดว่าจะได้หรอกครับ

[ คำอธิบายและสำนวนที่เกี่ยวข้อง ]
นอกจากจะพูดว่า Congratulation! (คอนเกรททูเลชัน) ยังมีสำนวนอื่นๆ สำหรับโอกาสต่างๆ อีก
เช่น เมื่อต้องการแสดงความยินดีเนื่องในวันเกิด พูดได้ว่า Happy Birthday! (แฮบปี้ เบิรฺธเดยฺ)
หรือ Many happy returns! (เมนี่ แฮพพี รีเทรินฺสฺ)

หรือในโอกาสวันคริสต์มาส และปีใหม่ พูดได้ว่า
Merry Christmas! We wish you a Merry Christmas! (แมรี่ คริสมาส วี วิช ยู อะ แมรี่ คริสมาส)
ซึ่งผู้ฟังควรจะตอบว่า Happy New Year! Thank you. Same to you. (แฮพพี นิว เยียรฺ แทงคฺ ยู เซม ทู ยู)
คือ ขอให้คุณมีความสุขปีใหม่เช่นเดียวกัน นั่นเอง

ในวันคริสต์มาสผู้คนมักนิยมพูดกันว่า
Merry Christmas and Happy New Year!
แมรี่ คริสมาส แอนทฺ แฮพพี นิว เยียรฺ
ขอให้มีความสุขในวันคริสต์มาส และ สุขสันต์วันปีใหม่

ฝากความคิดถึงไปยังผู้อื่นเป็นภาษาอังกฤษ


Give my best regards to...
(กีฟ มาย เบสทฺ ริการฺดส ทู)
ฝากความคิดถึงหรือความนับถือไปยัง...

สำนวนนี้จะใช้กล่าวถึงบุคคลที่3ครับ เช่น เอมี่กับจอห์นบอกลากันและเอมี่จะเดินทางไปเจอทีน่า จอห์นอยากจะฝากความคิดถึงไปถึงทีน่า จอห์นก็สามารถกล่าวคำว่า Give my best regards to Teena (กีฟ มาย เบสทฺ ริการฺดส ทู ทีน่า) ฝากความคิดถึงหรือความนับถือไปยังทีน่าด้วยนะ

[ โอกาสที่ใช้ ]
ต้องการแสดงความปรารถนาดี ความคิดถึงไปยังผู้อื่น

[ สถานการณ์ตัวอย่าง ]
มาร์คฝากความคิดถึงหรือความนับถือไปยังครอบครัวของเดวิด

Mark : Hi, David. Where are you going?
มารฺค : ไฮ เดวิด แว อา ยู โกกิง
มาร์ค : สวัสดี เดวิด จะไปใหนหรือ

David : I'm going to have dinner with my family. Would you like to join us?
เดวิด : แอม โกกิง ทู แฮฟ ดินเนอะ วิท มาย แฟมิลิ วูด ยู ไลดฺ ทู จอยอัส
เดวิด : จะไปทานอาหารค่ำกับครอบครัว ไปด้วยกันไหม

Mark : Sorry, I'm in a hurry. Please give my best regards to Them.
มารฺค : ซอรี แอม อิน อะ เฮอรี่ พลีส กีฟ มาย เบส ริการฺดสฺ ทู เธม
มาร์ค : ขอโทษ ผมกำลังรีบ ฝากความคิดถึงไปยัง ครอบครับคุณด้วยนะ

David : Thanks, I certainly will. Goodbye!
เดวิด : แธรงคสฺ ไอ เซอเทนริ วิว กูดบาย
เดวิด : ขอบคุณ แล้วผมจะบอกให้ สวัสดี

Mark : Bye!
มารฺค : บาย
มาร์ค : สวัสดี

[ คำอธิบายและสำนวนที่เกี่ยวข้อง ]
คำว่า regards (ริการฺดสฺ) บ้างครั้งใช้ลงท้ายจดหมายอย่างไม่เป็นทางการนัก มีความหมายว่า
ขอแสดงความนับถือ

เมื่อเป็นสำนวนพูดเช่นนี้ ในภาษาไทยมีความหมายเป็นทำนองว่า ฝากความคิดถึงไปนั่นเอง คำที่ไช้ได้เช่นกันคือ Please remember me to..., (พลีส รีเมมเบอะ มี ทู)
Give my love to... (กีฟ มาย เลิฟ ทู) ทั้งสองมีความหมายในทำนองเดียวกัน

เมื่อได้รับคำร้องเช่นนั้นควรพูดตอบว่า Thanks, I certainly will. ( แธงคสฺ ไอ เซอเทนริ วิว) คือ ขอบคุณ และจะบอกให้ นั้นเอง

ติดต่อส่งข่าวมานะ อีกนานได้เจอกันภาษาอังกฤษเขาพูดยังไง


Keep in touch!
(คีพ อิน ทัช)
ติดต่อส่งข่าวมานะ

สำนวนนี้จะใช้บอกลากัน โดยอีกนานอาจจะได้เจอกัน ให้ผู้ที่จะไปนั้นได้ ติดต่อส่งข่าวกลับมาบ้าง
ผู้ที่จะไปอาจจะไปนานหรืออาจจะต้องเดินทางไปไกล ลองมาดูตัวอย่างกันครับ

โอกาสที่ใช้
เมื่อต้องการแสดงความประสงค์ให้ผู้ที่ลาจากไปส่งข่าวคราว

[ สถานการณ์ตัวอย่าง ]
เบนกำลังจะเดินทางและคงจะไม่ได้เจอกับเจมส์อีกนาน

Ben : It's time for me to board the plane. I have to go now.
เบน : อิทสฺ ทาม ฟอรฺ มี ทู บอรฺด เดอะ เพลน ไอ แฮฟ ทู โก นาว
เบน : ได้เวลาขึ้นเครื่องบินแล้ว ผมต้องไปละ

James : Alright. Have a good trip.
เจมสฺ : ออไรท แฮฟ อะ กูด ทริพ
เจมส์ : ขอให้เดินทางโดยสวัสดิภาพนะ

Ben : Goodbye.
เบน : กูดบาย
เบน : ลาก่อน

James : Goodbye. Keep in touch!
เจมสฺ : กูดบาย คีพ อิน ทัช
เจมส์ : ลาก่อนแล้วติดต่อมานะ

Ben : Certainly.
เบน : เซนเทนริ
เบน : แน่นอน

[ คำอธิบายและสำนวนที่เกี่ยวข้อง ]
To board the plane. (ทู บอรฺด เดอะ เพลน) ขึ้นเครื่องบิน
Have a good trip. (แฮฟ อะ กูด ทริพ) ขอให้เดินทางโดยสวัสดิภาพ

ส่วนที่บอกให้ส่งข่าวมานั้นอาจจะใช้สำนวนอื่นๆอีก
Remember to drop me a line. (รีเมมเบอะอะ ทู ดรอพ มี อะ ลาย) อย่าลืมส่งข่าวมานะ
หรือ
Don't forget to give me a ring. (ดอนทฺ ฟอเกท ทู กีฟ มี อะ ริง) อย่าลืมโทรมาหาฉัน

Drop me a line. (ดรอพ มี อะ ลาย) เป็นสำนวนควาามหมายว่า เขียนจดหมาย นั้นเอง

Give me a ring (กีฟ มี อะ ริง) เป็นสำนวนในภาษาอังกฤษแบบอังกฤษ แปลว่า โทรศัพท์หาฉัน
ในสำนวนภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน มักจะใช้ว่า Give me a call (กีฟ มี อะ คอล)
วันพฤหัสบดีที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2556
Posted by Workman Workman

ไว้เจอกัน จะใช้อย่างไรในภาษาอังกฤษ


See you
(ซี ยู)
ไว้เจอกัน

คำนี้ก็เป็นสำนวนการบอกลาเหมือนกันครับ แต่จะใช้อย่างไม่เป็นทางการ เช่น เพื่อนบอกลาเพื่อน และการใช้สำนวนบอกลาคำนี้จะเป็นคำบอกลา ซึ่งอาจจะได้พบกันอีกเร็วๆ นี้ครับ

โอการที่ใช้
เมื่อต้องการลาจากใครคนหนึ่งอย่างไม่เป็นทางการ

สถานการณ์ตัวอย่าง
จอห์นและโทนี่ลาจากกัน

John : Well, I've got to go. I'm going to see a film.
จอหฺน : เวล ไอฟ กอท ทู โก แอม โกอิง ทู ซี อะ ฟิลมฺ
จอห์น : เอ เห็นจะต้องไปแล้ว ผมจะไปดูหนัง

Tony : Great! Have a good time.
โทนี่ : เกรท แฮฟ อะ กูด ทาม
โทนี่ : ดีจัง ขอให้สนุกนะ

John : Thanks. See you.
จอหฺน : แธงคสฺ ซี ยู
จอห์น : ขอบคุณ ไว้เจอกัน

Tony : Goodbye.
โทนี่ : กูดบาย
โทนี่ : สวัสดี

คำอธิบายและสำนวนที่เกี่ยวข้อง

See you. (ซี ยู) มีความหมายเช่นเดียวกันกับ
Goodbyb. (กูดบาย) คือ ลาก่อน หรือ สวัสดีเมื่อลาจากกัน นั้นเอง
อาจจะบอกเพิ่มเติมว่า ไว้เจอกันนั้น จะเจอกันเมื่อไหร่ เช่น

See you later. (ซี ยู เลเทอะ)
ไว้เจอกันวันหลัง คือ อาจจะไม่นานนักหลังจากเจอกันวันนี้

See you tomorrow. (ซี ยู ทูมอโร)
ไว้เจอกันพรุ่งนี้

See you next Wednesday. (ซี ยู เนกสทฺ เวนเดยฺ)
ไว้เจอกันวันพุธหน้า

นอกจากคำว่า See you. แล้วสำนวนที่ไม่เป็นทางการก็มีอีก เช่น Bye! So long! (บาย โซ ลอง)

การกล่าวคำอำลาในภาษาอังกฤษ


Well, I'm afraid I must go now.
(เวล แอม อะเฟรด ไอ มัท โก นาว)
ผม/ฉัน เกรงว่าจะต้องไปแล้ว

การที่เราจะบอกลาขอตัวกลับหรือขอตัวไปทำธุระจากใครสักคนหนึ่ง การบอกลากลับอย่างสุภาพเราก็จะใช้คำว่า Well, I'm afraid I must go now. (เวล แอม อะเฟรด ไอ มัท โก นาว) แปลว่า ผมเกรงว่าจะต้องไปแล้ว ส่วนใหญ่คำนี้จะใช้แบบเป็นทางการนะครับ ลองไปศึกษาเหตุการณ์ตัวอย่างกันดูดีกว่าครับ

โอกาสที่ใช้
เมื่อต้องการลาจากใครคนหนึ่ง

สถานการณ์ตัวอย่าง
แขกที่มาในงานลาเจ้าภาพ

Guest : oh, it's getting rather late. Well, I'm afraid I must go now.
เกสท : โอ อิทสฺ เกทติง ราเธอะ เลท เวล แอม อะเฟรด ไอ มัท โก นาว
แขก : เอ ชักจะดึกแล้ว เห็นทีต้องขอตัวกลับเสียที

Host : Can't you stay a little longer?
โฮส : คานทฺ ยู สเตยฺ อะ ลิเติล ลองเงอรฺ
เจ้าภาพ : อยู่ต่ออีกสักหน่อยไม่ได้หรือค่ะ

Guest : No, I think I should be leaving.
เกสท : โน ไอ ธิงคฺ ไอ ชูท บี ลีฟวิง
แขก : เห็นจะไม่ได้หรอกครับ ผมคิดว่าผมควรจะกลับได้แล้ว

Host : All right. I'll ask Peter to drive you home.
โฮส : ออ ไรท ไอล อาค พีเทอะ ทู ไดรฟ ยู โฮม
เจ้าภาพ : อย่างนั้นก็ไม่เป็นไรค่ะ เดี๋วดิฉันจะขอให้ปีเตอร์ขับรถไปส่ง

คำอธิบายและสำนวนที่เกี่ยวข้อง
I'm afraid that...
(แอม อะเฟรด แธท) เป็นสำนวน มีความหมายว่า เกรงว่าจะ มักจะตามด้วย
" that clause " (แธท คลอส) ซึ่งแสดงให้เห็นถึงสิ่งที่ไม่อยากให้เกิดขึ้น เช่น

I'm afraid that I must go now. มีความหมายว่า
ฉันเกรงว่าจะต้องไปแล้ว เป็นการบอกว่าต้องกลับทั้งที่ไม่อยากกลับ

drive somebody home มีความหมายว่า
คนขับรถไปส่งใครสักคนที่บ้าน แต่ถ้าเดินไปส่งควรพูดว่า
walk somebody home (วอลฺด ซัม บอดี้ โฮม) หรือ
เดินไปเป็นเพื่อนนั้นเอง

สำนวนอื่นๆ ที่มช้ในการลาได้แก่
I think I have to go now.
(ไอ ธิงค ไอ แฮฟ ทู โก นาว)
ฉันคิดว่าฉันต้องไปตอนนี้

I'm sorry I must go (now).
(แอม ซอรี ไอ มัท โก นาว)
ฉันขอโทษฉันจะต้องไปตอนนี้

วันพุธที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2556
Posted by Workman Workman

เมื่อเราบังเอิญได้เจอกับใครสักคนที่ไม่ได้เจอกันนาน


I haven’t seen you for ages.
ไอ แฮฟวึนทฺ ซีน ยู ฟอ เอจสฺ
ฉันไม่ได้เจอคุณตั้งนานแล้ว
เราจะใช้สำนวนนี้เมื่อเราบังเอิญได้พบกับใครสักคนหนึ่ง ที่ไม่ได้เจอกันมานาน เช่น เมื่อเราเดินอยู่กลางห้าง แล้วเราได้พบเพื่อนที่ไม่ได้เจอกันมานานมาก
คุณสามารถใช้ประโยคนี้ได้เลยครับ
Oh! I haven’t seen you for ages.
โอ้! ผมไม่ได้เจอคุณนานมากเลย
โอกาสที่ใช้
เมื่อแสดงความยินดีหรือแปลกใจที่ได้พบใครคนหนึ่งหลังจากที่ไม่ได้พบมาเป็นเวลานาน
สถานการณ์ตัวอย่าง
ซูซานและแมรี่พบกันโดยบังเอิญหลังจากที่ไม่ได้พบกันมาเป็นเวลานาน
Susan : Why, if it isn’t Mary!
ซูซาน : วาย อีฟ อิท อีสซึนทฺ แมรี่
นั้นต้องเป็นแมรี่แน่ๆ
Mary : Oh, hello. I haven’t seen you for ages.
แมรี่ : โอ เฮลโล ไอ แฮฟวึนทฺ ซีน ยู ฟอรฺ เอจส
อ้าว สวัสดีค่ะ ไม่ได้พบคุณมานานทีเดียว
Susan : How are you?
ซูซาน : ฮาว อา ยู
สบายดีหรือค่ะ
Mary : Fine, thank you, and you?
แมรี่ : ฟาย แธงคฺ ยู แอนดฺ ยู
สบายดีค่ะ ขอบคุณ แล้วคุณล่ะค่ะ สบายดีหรือ
Susan : Fine. Where are you going?
ซูซาน : ฟาย แว ยู โกอิง
สบายดีค่ะ จะไปใหนค่ะนี่
คำอธิบายและสำนวนที่เกี่ยวข้อง
Ages (เอจสฺ) มีสำนวนที่มีความหมายว่า เป็นเวลานาน ages เมื่อเป็นคำนานนับได้ มีความหมายว่ายุคหนึ่งๆ ส่วน age ที่เราคุ้นเคยเป็นคำนานนับไม่ได้แปลว่า อายุ
วันจันทร์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2556
Posted by Workman Workman

ระบุบุคคลหรือสถานที่และสิ่งต่างๆเป็นภาษาอังกฤษ


Identifying People and Things
ระบุบุคคลหรือสถานที่และสิ่งต่างๆ
This is Minnie Rivers.
นี่คือแม่น้ำมินนี่
That is Mr. Lewis.
นั่นคือนายลูวิส
Minnie is a writer.
มินนี่เป็นนักเขียน
Mr. Lewis is a barber.
นายลูอิสเป็นช่างตัดผม
Gail is an artist.
เกลเป็นศิลปิน
He is a photographer.
เขาเป็นช่างภาพ
She is a secretary.
เธอเป็นเลขานุการ
He’s a dentist.
เขาเป็นหมอฟัน
She’s a doctor.
เธอเป็นแพทย์
I am a computer programmer.
ฉันเป็นโปรแกรมเมอร์คอมพิวเตอร์
I’m a businessman.
ฉันเป็นนักธุรกิจ
I’m a businesswoman.
ฉันเป็นนักธุรกิจ
I’m not a mechanic.
ฉันไม่ใช่ช่าง
We are writers.
เราเป็นนักเขียน
They are engineers.
พวกเขาเป็นวิศวกร
You are a student.
คุณเป็นนักเรียน
You are students.
คุณเป็นนักศึกษา
This is an apple.
นี่คือแอปเปิล
This is a banana.
นี่คือกล้วย
That is an orange.
ที่เป็นลูกส้ม
That is not a tomato.
นี่ไม่ใช่มะเขือเทศ
It is a telephone.
มันเป็นโทรศัพท์
It’s a horse.
มันเป็นม้า
It’s not an airplane.
มันไม่ใช่เครื่องบิน

เมื่อเราจะแนะนำใครสักคนให้รู้จักกับอีกคนหนึ่ง ภาษาอังกฤษคือ


I’d like you to meet…
ไอ ไลท ยู ทู มีท
ในประโยคนี้มีความหมายได้หลายอย่าง อาทิเช่น อยากให้คุณพบกับ / เจอกับ / รู้จักกับ…
เมื่อเราจะแนะนำใครสักคนให้รู้จักกับอีกคนหนึ่ง เราจะใช้สำนวนที่ว่า I’d like you to meet… แล้วตามด้วยชื่อของบุคคล
ที่เราจะแนะนำให้รู้จักครับ เช่น I’d like you to meet Mr.Boat. ผมอยากให้คุณรู้จักกับคุณโบท
เห็นไหมล่ะครับ ไม่ยากเลย เรามาดูการใช้สำนวน I’d like you to meet… กันเลยดีกว่านะ
โอกาสที่ใช้
เมื่อต้องการแนะนำให้ผู้ที่พูดด้วยรู้จักกับใครอีกคนหนึ่ง
สถานการณ์ตัวอย่าง
คุณสมบัติแนะนำศาสตราจารย์ลุคให้รู้จักกับเพื่อนร่วมงาน
Mr.Sombat : Welcome to Bangkok, Professor Luke.
มิสเทอะสมบัติ : เวลคัม ทู แบงคอก โพรเฟสเซอรฺ ลุค
: ขอต้อนรับสู่กรุงเทพฯครับ ศาสตราจารย?ลุค
Prof.Luke : Thank you for meeting me, Mr.Sombat
โปร ลุค : แธงคฺ ยู ฟอ มีทติง มี มิสเทอะ สมบัติ
: ขอบคุณครับ คุณสมบัติ ที่มารักผม
Mr.Sombat : oh, Professor Luke, I’d like you to my colleague, Miss Saipin.
มิสเทอะสมบัติ : โอ โพรเฟสเซอรฺ ลุค ไอ ไลท ยู ทู มีท มาย คอลลีกจฺ มิส สายพิณ
: ศาสตราจารย์ลุคครับ ผมขอแนะนำเพื่อนร่วมงานของผม ชื่อสายพิณ
Miss Saipin : How do you do, Professor Luke.
มิส สายพิณ : ฮาว ดู ยู ดู โพรเฟสเซอรฺ ลุค
: สวัสดีค่ะ ศาสตราจารย์ลุค
Prof.Luke : How do you do, Miss Saipin.
โปร ลุค : ฮาว ดู ยู ดู มิส สายพิณ
: สวัสดีครับ คุณสายพิณ
นอกจากสำนวนข้างต้นแล้ว ยังอาจจะใช้สำนวนอื่นๆ ต่อไปนี้ได้อีกในการแนะนำ
May I introduce you to (Miss Saipin).
เมยฺ ไอ อินโทรดิวสฺ ยู ทู มิส สายพิณ
Let me introduce you to (Miss Saipin).
เล็ท มี อินโทรดิวสฺ ยูทู มิส สายพิณ
May I predent (Miss Saipin) to you.
เมยฺ ไอ พรีเซนทฺ มิส สายพิณ ทูยู
หากอยู่ในสถานการณ์ที่ไม่เป็นทางการนัก อาจจะใช้สำนวนว่า
Have you met (John)? Do you know (John)?
แฮฟ ยู มิส จอหฺน ดู ยู โนวฺ จอหฺน
ซึ่งมีควาามหมายว่า
คุณพบ(จอห์น)หรือยัง คุณรู้จัก (จอห์น) หรือยัง นั่นเอง

ประโยคการกล่าวคำทักทาย


How do you do?
คำนี้ความหมายตรงตัวก็คือ คุณสบายดีไหม เป็นการกล่าวทักทายตามธรรมเนียมของชาวต่างชาติ หลังจากการกล่าวคำทักทายกันแล้ว จะไต่ถามว่าสบายดีไหม เป็นห่วงเป็นใยกันครับ ถ้าเป็นคนไทยนั้นหลังจากที่ได้กล่าวสวัสดี คนไทยก็จะถามต่อว่า จะไปใหนล่ะ หรือ ไปใหนมาล่ะ ส่วนคนจีนนั้นจะถามว่า ทานข้าวหรือยัง หลังจากที่ได้กล่าวทักทายกันแล้ว ตอนนี้เรามาดูการใช้สำนวนประโยค How do you do? กันเลยครับ
โอกาสที่ใช้
เมื่อได้รับการแนะนำให้รู้จักกับใครคนหนึ่งอย่างเป็นทางการ
สถานการณ์ตัวอย่าง
Vichit : Mr.Pipat, may I introduce a friend of mine to you? This is Mr. Sombat (To Sombat) This is Mr. pipat
วิชิท : มิสเทอะ พิพัฒน์ เมยฺ ไอ อินโทรดิว อะ เฟรน ออฟ มาย ทู ยู สมบัติ ดิส อีส มิสเทอะ พิพัฒน์
วิชิท : คุณพิพัฒน์ครับ ขอแนะนำให้รู้จักเพื่อนของผมครับ นี่ครับคุณสมบัติ (พูดกับสมบัติ) และนี่คุณพิพัฒน์
Pipat : How do you do, Mr. Sombat?
พิพัฒน์ : ฮาว ดู ยู ดู มิสเทอะ สมบัติ
พิพัฒน์ : สวัสดีครับ คุณสมบัติ
Sombat : How do you do, Mr.Pipat? I’m pleased to meet you.
สมบัติ : ฮาว ดู ยู ดู มิสเทอะ พิพัฒน์ แอม พลีส ทู มีส ยู
สมบัติ : สวัสดีครับ คุณพิพัฒน์ ยินดีที่ได้พบครับ

แนะนำให้รู้จักในภาษาอังกฤษ


ในบทความนี้จะเป็นการแนะนำเพื่อนให้รู้จักนะครับ บทความนี้จะมีความคล้ายกับบทความ แนะนำตัวเอง
ต่างกันตรงที่ จะมีเพื่อนเพิ่มขึ้นมาอีกหนึ่งคน และจะทำการแนะนำเพื่อนอีกคนให้รู้จักกันนะครับ
พาเพื่อนมาทำความรู้จักเพื่อนอีกคน
This is my friend, Jack.
นี้เป็นเพื่อนของฉัน ชื่อแจ็ค
Hi Jack. I’m Linda
สวัสดีแจ็ค ฉันลินดา
ในการแนะนำให้คนอื่นรู้จักกัน ไม่ได้มีแต่การแนะนำเพียรแค่เพื่อนเท่านั้นนะครับ
แต่ยังสามารถแนะนำครอบครัว หรือ ญาติผู้ใหญ่ก็ได้ ตัวอย่างเช่น
my brother, Bob.
พี่ชายของฉัน ชื่อบ๊อบ
my sister, Cindy.
น้องสาวของฉัน ชื่อซินดี้
my father, Mr. Harris.
พ่อของฉัน ชื่อแฮร์ริส
my mother, Mrs. Harris.
แม่ของฉัน ชื่อแฮร์ริส
my teacher, Ms. Watson.
ครูของฉัน ชื่อวัตสัน
แล้วจะตามด้วยการแสดงความยินดีที่ได้รู้จักกัน
Nice to meet you.
ยินดีที่ได้พบคุณนะครับ
Nice to meet you too.
ยินดีที่ได้พบคุณเช่นกันครับ

แนะนำตัวเองเป็นภาษาอังกฤษ


หลังจากเราได้ทำการศึกษาเกี่ยวกับการทักทายในภาษาอังกฤษกันแล้ว มาถึงบทความนี้จะเป็นการแนะนำตัวเองเป็นภาษาอังกฤษนะครับ
ก่อนอื่นเราต้องแนะนำตัวเองให้คนอื่นได้รู้จักก่อน ก่อนที่จะไปรู้จักคนอื่นนะครับ
โดยจะมีสองลักษณะเช่นเดียวกับ การทักทายนะครับคือ แบบเป็นทางการและไม่เป็นทางการ
แนะนำตัวแบบไม่เป็นทางการ
I’m John.
ผมจอห์น
I’m Jackie.
ผมแจ๊คกี้
การแนะนำตัวแบบเป็นทางการ
I’m John Kennedy.
ผมจอห์นเคนเนดี้
I’m Jackie O’Neill.
ผมแจ๊คกี้โอนีล
หลังจากได้รู้จักชื่อกันเรียบร้อยแล้วจะต่อท้ายด้วยการแสดงความยินดี
nice to meet you.
ยินดีที่ได้พบคุณนะครับ
nice meeting you. หรือ good to meet you.
ความหมายก็เหมือนกันนะครับคือ ยินดีที่ได้พบคุณนะครับ
Nice to meet you too.
ยินดีที่ได้พบคุณเช่นกันครับ

คำทักทายต่างๆในภาษาอังกฤษ


Greetings (การทักทาย)
การพบปะกันในชีวิตประจำวันตามปกติแล้วจะมีการทักทายกันตามธรรมเนียม  มักจะใช้คำหรือข้อความที่มีความหมายว่า “สวัสดี” ในช่วงเวลาและกับบุคคลที่แตกต่างกัน และในการทักทายมีสองลักษณะคือ การทักทายแบบเป็นทางการและไม่เป็นทางการ การทักทายแบบเป็นทางการ มักจะใช้กับคนที่เราให้ความเคารพ และไม่เคยรู้จะกัน ส่วนไม่เป็นทางการมักจะใช้กับเพื่อนและคนสนิทเท่านั้น
การทักทายแบบไม่เป็นทางการ
Hi.
สวัสดี
Hello.
สวัสดี
การทักทายแบบเป็นทางการ
Good morning.
สวัสดีตอนเช้า (เช้าถึงเที่ยงวัน)
Good afternoon.
สวัสดีตอนบ่าย (หลังเที่ยงวันถึงช่วงเย็น)
Good evening.
สวัสดีตอนเย็น (ช่วงเย็นถึงกลางคืน)
การสอบถามทุกข์-สุข
How are you?
คุณสบายดีมั้ย
How are you doing?
คุณสบายดีมั้ย (อเมริกัน)
Fine. How about you?
สบายดี แล้วคุณล่ะ
Okay. Thanks.
สบายดี ขอบคุณ

Free Downloads APP

Popular Post

ขับเคลื่อนโดย Blogger.

- Copyright © Sample-English -Metrominimalist- Powered by Blogger - Designed by Johanes Djogan -